UFABETWINS “แอร์เบ ไลป์ซิก” : ทีมลูกหนังพลังกระทิงหนุ่มที่คนเยอรมันชังมากที่สุด

UFABETWINS แอร์เบ ไลป์ซิก กำลังได้รับการจับตาจากคอลูกหนังทั่วโลก จากการเป็น 1 ใน 4 สโมสร ที่ผ่านเข้าสู่รอบรองชนะเลิศ ของฟุตบอล ยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก

ฤดูกาล 2019-20 ทั้งที่เล่นในบุนเดสลีกา ได้เพียง 4 ฤดูกาล ด้วยผลงานที่ยอดเยี่ยม มีแนวทางการเล่นฟุตบอล แบบเกมรุกดุดันสะใจ แถมเน้นใช้นักเตะรุ่นใหม่ อายุน้อย แนวทางที่ชัดเจนของ แอร์เบ ไลป์ซิก ทำให้สโมสรแห่งนี้ มีแฟนบอลคอยส่งแรงใจเชียร์จำนวนไม่น้อย

ในฐานะสโมสรฟุตบอลหน้าใหม่ไฟแรง และเน้นการสร้างทีมฟุตบอลจากการปั้นเยาวชน แต่ในเยอรมัน ไลป์ซิก กลับเป็นสโมสรที่แฟนบอลในประเทศไม่ยอมรับ ถึงขั้นที่ว่า ทีมกระทิงหนุ่ม กลายเป็นสโมสรที่คนเกลียดชัง เป็นอันดับที่ 1 ในเมืองเบียร์ ยิ่งกว่า บาเยิร์น มิวนิค

Main Stand จะพาไปดูเรื่องราวของ แอร์เบ ไลป์ซิก สโมสรหน้าใหม่ไฟแรง แต่เหตุใดพวกเขาถึงกลายเป็นทีมสุดชังของแฟนบอลเยอรมัน เมื่อเรดบูลบุกลูกหนังเยอรมัน  หากพูดถึงบริษัทการค้าทั่วไป ที่ลงทุนกับฟุตบอล ในฐานะเจ้าของทีมมากที่สุด ย่อมหนีไม่พ้น “เรดบูล”

(Red Bull) Energy Drink สัญชาติออสเตรีย ที่ซื้อสูตรเครื่องดื่มชูกำลัง ไปจาก กระทิงแดง แบรนด์เครื่องดื่มให้พลังงานชื่อดังของประเทศไทย เรดบูล คือ บริษัทที่ให้ความสำคัญกับ การทำการตลาดผ่านหลาย ๆ ชนิด กีฬา  รวมถึง ฟุตบอลกีฬายอดนิยมของโลก ที่กลายเป็นเครื่อง

มือโปรโมตแบรนด์ให้กับเรดบูล  แต่แทนที่ เรดบูล จะเลือกเป็นสปอนเซอร์ สนับสนุนทีมแบบบริษัทอื่น เรดบูล มีแผนการที่ยิ่งใหญ่กว่า นั่นคือ การซื้อทีมฟุตบอลมาเป็นของตัวเอง เรดบูล ซัลซ์บวร์ก กลายเป็นสโมสรฟุตบอลทีมแรก ในเครือของเรดบูล หลังจากเทคโอเวอร์สโมสร

ออสเตรีย ซัลซ์บวร์ก ในประเทศออสเตรีย เมื่อปี 2005  เรดบูล ซัลซ์บวร์ก ไม่นับว่าเป็นทีมเดียวกับ ออสเตรีย ซัลซ์บวร์ก เช่นเดียวกับแฟนบอลดั้งเดิมของทีม ที่รวมตัวกันก่อตั้งสโมสรใหม่ในชื่อเดิม หลังจากนั้น เรดบูล ขยายสาขาทีมฟุตบอลขององค์กรไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น

นิวยอร์ก เรดบูลส์ (เทคโอเวอร์สโมสร นิวยอร์ก/นิวเจอร์ซี่ย์ เมโทรสตาร์ส ในปี 2006), เรดบูล บราซิล (ก่อตั้งปี 2007) และ เรดบูล กานา (ก่อตั้งปี 2008 ยุบสโมสรปี 2014)  แม้ เรดบูล จะมีสโมสรในเครือมากมาย แต่เป้าหมายใหญ่ที่สุดของพวกเขา คือการมีสโมสรอยู่ใน 5 ลีกใหญ่

ของยุโรป เพราะบริษัทเรดบูล ต้องการให้มีสโมสรในเครือของพวกเขา อย่างน้อยหนึ่งสโมสร เป็นทีมขาประจำ ของฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก และคงไม่มีลีกไหน เหมาะสมไปกว่า บุนเดสลีกา ลีกบ้านใกล้เรือนเคียงของประเทศออสเตรีย  “สโมสรอื่น ไม่สามารถตอบโจทย์

ความทะเยอทะยานของเรดบูลได้ เป็นแค่สโมสรปั้นแล้วขายนักเตะเท่านั้นเอง แต่ไลป์ซิกสามารถเป็นได้” เดฟ บราเนค นักข่าวของ DW สื่อจากประเทศเยอรมัน แสดงความคิดเห็น อุปสรรคด่านสำคัญ ติดอยู่ตรงที่ ฟุตบอลอาชีพเยอรมัน มีกฎ 50+1 ที่ให้สโมสรฟุตบอล

ต้องถูกถือหุ้นใหญ่โดยแฟนฟุตบอล (ยกเว้นบางสโมสรที่ได้รับการยกเว้นเป็นกรณีพิเศษ) แต่เรดบูลฉลาดพอที่จะหาช่องว่างของกฎ นั่นคือการไปซื้อสโมสรฟุตบอล ที่อยู่ในระดับ 5 ของเยอรมัน หรือ ลีกกึ่งอาชีพ ที่กฎ 50+1 ไม่มีบทบาทในระดับนั้น เอสเอสเฟา มาร์ครานชตัดท์

(SSV Markranstädt) คือทีมที่ถูก เรดบูล ซื้อสิทธิ์ของสโมสร ในปี 2009 และตั้งสโมสรใหม่ในชื่อ แอร์เบ ไลป์ซิก  เหตุผลที่สโมสรไม่ใช้ชื่อ เรดบูล เหมือนกับทีมอื่นในเครือ เพราะฟุตบอลเยอรมัน ไม่อนุญาตให้ใช้ชื่อบริษัท เป็นชื่อสโมสรฟุตบอล ในทุกลีก

(ยกเว้น ไบเออร์ เลเวอร์คูเซน ทีมเดียว เนื่องจากสโมสรแห่งนี้ก่อตั้งโดยพนักงานของบริษัทขายยา ไบเออร์)  ทำให้พวกเขาใช้ชื่อคำว่า แอร์เบ (RB) ซึ่งย่อมาจากคำว่า ราเซนบอลสปอร์ต (RasenBallsport) ที่แปลเป็นภาษาไทยได้ว่า “กีฬาที่เล่นลูกบอลบนพื้น”

ซึ่งทุกคนรู้ ! แฟนคลับรู้ว่า นี่คือการเลี่ยงบาลี ของบริษัท เรดบูล เพราะสุดท้ายแล้ว แอร์เบ ไลป์ซิก ยังคงเหมือนกับสโมสรอื่นในเครือ นั่นคือ ตราสโมสร เป็นโลโก้แบบเดียวกับเรดบูล และแบรนด์เครื่องดื่มชูกำลังจากออสเตรีย เป็นสปอนเซอร์คาดหน้าอก แอร์เบ ไลป์ซิก

ใช้เวลาไม่นาน ในการไต่ขึ้นสู่ลีกสูงสุด เพียงแค่ฤดูกาลแรก พวกเขาคว้าแชมป์ในระดับลีก 5 เลื่อนชั้นสู่ลีก 4 ก่อนเลื่อนชั้นสู่ลีกา 3 ในปี 2013  ปีถัดมา ไลป์ซิกเลื่อนชั้นสู่ลีกา 2 และฤดูกาล 2015-16 แอร์เบ ไลป์ซิก คว้าตำแหน่งรองแชมป์ของลีกา 2 ขึ้นสู่บุนเดสลีกา ได้สำเร็จ

ลูกหนังพลังหนุ่ม การขึ้นสู่บุนเดสลีกา จากลีกระดับ 5 ของเยอรมัน ภายในเวลา 7 ปี ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ แต่ แอร์เบ ไลป์ซิก มีการวางแผนล่วงหน้าอย่างยาวนาน ที่จะปั้นให้สโมสรแห่งนี้ ก้าวขึ้นมาเป็นมหาอำนาจของวงการลูกหนังเมืองเบียร์ ตั้งแต่ก่อนสร้างทีม เรดบูล มีการวางแผน

อย่างจริงจัง ว่าจะเลือกเมืองไหน ให้เป็นที่ตั้งของสโมสร เพื่อทำการตลาดที่ง่าย ดึงดูดแฟนคลับของสโมสรให้หนาแน่น และสร้างความน่าสนใจ ให้นักฟุตบอลเข้ามาร่วมทีม ไลป์ซิก คือ เมืองที่ถูกเลือก เพราะนี่คือเมืองใหญ่ประจำภาคตะวันออกของเยอรมัน แต่กลับไม่มีสโมสรอยู่

UFABETWINS

ในบุนเดสลีกา และลีกา 2 มาอย่างยาวนาน เมืองนี้ จึงเปิดรับให้ แอร์เบ ไลป์ซิก เข้ามาเป็นสโมสรอนาคตไกลประจำเมือง แม้จะเป็นทีมฟุตบอลองค์กรก็ตาม หลังจากได้เมืองลงหลักปักฐาน แอร์เบ ไลป์ซิก มีนโยบายหลักคือ “การพัฒนาเยาวชน” เพราะว่า ทีมในองค์กรเรดบูล

มีสโมสรอยู่ทั้งในสหรัฐอเมริกา, บราซิล, กานา และออสเตรีย เท่ากับพวกเขามีเครือข่ายถึง 4 ทวีป ที่จะค้นหาเพชรเม็ดงามชั้นดี เกือบทั่วพื้นที่บนโลก มาเข้าสู่ระบบการพัฒนานักเตะของเครือข่าย และส่งตรงสู่ แอร์เบ ไลป์ซิก อันเป็นสโมสรที่ใหญ่ที่สุด ทรัพยากรเยาวชนลูกหนังที่

มีอยู่ในมือ ทำให้ไลป์ซิก ไม่จำเป็นต้องใช้วิธีทุ่มซื้อนักเตะ เพื่อสร้างทีมของตัวเอง โดยหัวใจสำคัญของการปั้นเยาวชนเน้นสร้างนักเตะคุณภาพที่จะใช้ได้จริง และดีพอที่จะเล่นฟุตบอลระดับสูง มากกว่าปริมาณ เรดบูล จึงเริ่มสรรหาโค้ชมือดีสักคนเข้ามาช่วยงานตรงนี้ พวกเขาเลือก

ราล์ฟ รังนิค ยอดโค้ชชาวเยอรมัน มาทำหน้าที่เป็นผู้อำนวยการสโมสร ของ แอร์เบ ไลป์ซิก (และ เรดบูล ซัลซ์บวร์ก) ในปี 2012 เพื่อเตรียมความพร้อม ก่อนลุยฟุตบอลบุนเดสลีกา รังนิค อาจไม่เคยจับงานด้านบริหาร แต่สมัยเป็นผู้จัดการทีม เขาเคยสร้างทีมจากมือเปล่า

ขึ้นมาประสบความสำเร็จอยู่หลายครั้ง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การทำสโมสรฮอฟเฟนไฮม์ ขึ้นจากลีกา 3 สู่บุนเดสลีกา ภายในระยะเวลาแค่ 2 ปี ด้วยการใช้นักเตะที่ไร้ชื่อเสียง แต่เปี่ยมด้วยคนหนุ่ม พลังงาน และความกระหาย รังนิค เข้ามาดู และควบคุม แนวทางการพัฒนานักเตะ

ในเครือสโมสรของเรดบูลทั้งหมด ทำให้สโมสรสามารถสร้างนักเตะได้อย่างเป็นระบบ  โดยนักเตะที่ศักยภาพยังไม่ถึงที่จะเล่นในเยอรมัน จะถูกส่งไปเล่นให้ เรดบูล ซัลซ์บวร์ก เพื่อพัฒนาฝีเท้า และเก็บประสบการณ์ให้พร้อม ก่อนย้ายมาไลป์ซิก หรือถ้าใครเก่งพอตั้งแต่อายุยังน้อย

ไลป์ซิกสามารถดึงตัวมาเล่นได้ในทันที “แอร์เบ ไลป์ซิก คงไม่มีวันนี้ ถ้ารังนิคไม่เข้ามาปี 2012” กุยโด เชเฟอร์ นักข่าววงใน ของ แอร์เบ ไลป์ซิก กล่าวถึงความสำคัญของราล์ฟ รังนิค  เพราะหลังจากรังนิค เข้ามานั่งแท่นผู้บริหารของไลป์ซิก และซัลซ์บวร์ก ทั้งสองสโมสรได้ผลิต

สุดยอดนักเตะจำนวนมาก ที่ลงเล่นให้กับทั้งสองทีม  ไม่ว่าจะเป็น สเตฟาน อิลซานเกอร์, ปีเตอร์ กูลัคชี, นาบี เกอิตา, ดาโยต์ อูปาเมกาโน, คอนราด ไลเมอร์, อาร์มาดู ไฮดาฮา และ ฮานเนส โวล์ฟ เป็นต้น  นักเตะเหล่านี้ สามารถเข้ามาเป็นตัวหลัก ให้กับ แอร์เบ ไลป์ซิก ได้ทันที

เพราะผ่านประสบการลงสนาม ในลีกออสเตรียมาก่อนแล้ว รวมถึงฟุตบอลยุโรป ที่ เรดบูล ซัลซ์บวร์ก ผ่านเข้าไปทำการแข่งขันแทบทุกปี  พวกเขาจึงแกร่งและพร้อมลุย ในฟุตบอลบุนเดสลีกาทันที และที่สำคัญที่สุด ไม่เสียเงินแม้แต่บาทเดียว เพราะทั้งสองสโมสร อยู่ในเครือเรดบูล

เหมือนกัน นอกจากนี้ ราล์ฟ รังนิค ยังสั่งให้สโมสร พยายามดึงตัวนักเตะดาวรุ่งที่มีแววเก่ง เข้าสู่ แอร์เบ ไลป์ซิก โดยตรง เพื่อสร้างทีมในอีกทางหนึ่ง ในฤดูกาล 2014-15 แอร์เบ ไลป์ซิก ดึงตัวนักเตะดาวรุ่งจำนวนมากเข้าสู่ทีม ตั้งแต่เริ่มขึ้นสู่ระดับลีกา 2 เอมิล ฟอร์สเบิร์ก 23 ปี,

อันเต เรบิค 20 ปี, ลูคัส คลอสเตอร์มันน์ 18 ปี, มาร์เซล ซาบิตเซอร์ 20 ปี คือตัวอย่างนักเตะ ที่ แอร์เบ ไลป์ซิก เซ็นมาร่วมทีมในปี 2014 สะท้อนให้เห็นความต้องการ อย่างชัดเจนของสโมสร ที่ต้องการจะประสบความสำเร็จ ด้วยนักเตะอายุน้อย หลังจากนั้น ไลป์ซิกยังคงซื้อนักเตะอายุ

น้อยเข้าทีมอย่างต่อเนื่อง เช่น วิลลี ออร์บัน 22 ปี, ทิโม แวร์เนอร์ 20 ปี, คอนราด ไลเมอร์ 20 ปี, อิบราฮิม โคนาเต 18 ปี, มัธธีอัส คุนญา 19 ปี, มาร์เซโล ซาร์รัคคี 20 ปี, คริสโตเฟอร์ เอ็นคุนคู 21 ปี, อเดโมลา ลุคแมน 21 ปี, ดานี โอลโม 21 ปี “ไลป์ซิกมองหานักเตะรุ่นใหม่เสมอ

UFABETWINS

เพราะพวกเขามีทั้งความสามารถ และความกระหาย … ไลป์ซิกไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินจำนวนมาก เพื่อซื้อนักเตะที่ถูกเรียกว่า ‘สตาร์’ ในเมื่อพวกเขาสามารถค้นหา และปั้นขึ้นมาเองได้”  “ฟุตบอลยุคปัจจุบัน การมีทีมงานแมวมองที่ดี คือปัจจัยสำคัญ ที่จะประสบความสำเร็จ”

เชเฟอร์ กล่าว ในความเป็นจริงแล้ว มีสโมสรฟุตบอลจำนวนมากทั่วโลก ที่เน้นการพัฒนาเยาวชนเหมือนกับไลป์ซิก หรือในเยอรมันแทบทุกสโมสร ล้วนให้ความสำคัญ กับการพัฒนาเยาวชน  แต่เหตุใด แอร์เบ ไลป์ซิก จึงสร้างทีมพลังหนุ่มได้โดดเด่นกว่าทีมอื่น

และประสบความสำเร็จในระดับสูง นับตั้งแต่ขึ้นสู่บุนเดสลีกา ในปี 2016 “รังนิค คือตัวการสำคัญ เขาเปลี่ยนให้สโมสรนี้พัฒนาไปอย่างรวดเร็ว เขามีปรัชญาของเขา และนับตั้งแต่วันที่เขาเข้ามา ทุกคนในสโมสรนี้ ต้องทำงานใต้ปรัชญาของเขา” ราล์ฟ รังนิค ไม่ได้ทำหน้าที่แค่พัฒนาเยาวชน

และคัดเลือกนักเตะเข้าสู่ทีม แต่เขาวางระบบรากฐานให้กับสโมสร ในการเล่นบนสนาม เขาคือคนคัดเลือกแทคติก ที่จะให้ แอร์เบ ไลป์ซิก เล่น เพราะเขาต้องการแทคติก ที่เหมาะสมกับนักเตะวัยรุ่น ที่เปี่ยมด้วยพลัง ความกระหาย แต่ในขณะเดียวกัน ประสบการณ์อาจไม่มากพอ

ฟุตบอลตั้งรับ และสวนกลับเร็ว กลายเป็นฟุตบอลที่ ราล์ฟ รังนิค เลือก เขาวางระบบนี้ไว้ในฤดูกาล 2015-16 ที่เขาเข้ามารับตำแหน่งผู้จัดการทีม พาทัพกระทิงแดงคว้าตำแหน่งรองแชมป์ ลีกา 2 หลังจากนั้นเป็นต้นมา โค้ชที่จะมาทำงานต่อจากเขา ต้องเล่นในแทคติก ตามแบบฉบับที่

เขาวางไว้ให้ ซึ่งแน่นอนว่า รังนิคเป็นคนเลือกโค้ชเหล่านี้ ด้วยตัวของเขาเอง ราล์ฟ ฮาสเซนฮุตเทิล และ ยูเลียน นาเกิลส์มันน์ คือ สองโค้ชอายุน้อย ที่เข้ามารับหน้าที่ต่อจากรังนิค และทั้งสองมีปรัชญาเข้ากับฟุตบอลของไลป์ซิก จึงพาทีมประสบความสำเร็จอย่างชัดเจน หรือหากไม่มีโค้ช

ที่ดีพอ จะเข้ามาทำทีม ตามที่รังนิคต้องการ เขาสามารถกระโดดจากตำแหน่งผู้บริหาร ลงมาเป็นโค้ชชั่วคราวได้ในทันที ผลงานคือเครื่องพิสูจน์ว่า แนวทางของรังนิคถูกต้อง หลังจากขึ้นสู่บุนเดสลีกา แอร์เบ ไลป์ซิก ทำอันดับได้ไปเล่นฟุตบอลยุโรปทุกปี, เคยเข้าชิงฟุตบอล

เดเอฟเบ โพคาล มาแล้ว  และล่าสุด ผ่านเข้าสู่รอบ 4 ทีมสุดท้าย ของฟุตบอลยูฟ่า แชมเปียนส์ ลีก ถือว่าดูดีไม่น้อย สำหรับสโมสรที่เล่นบนลีกสูงสุด ได้เพียง 4 ฤดูกาล ด้านมืดของทีมฟุตบอลพันธุ์กระทิง แนวทางการพัฒนาอย่างมีแบบแผน และเป็นระบบ ทำให้ แอร์เบ ไลป์ซิก

ประสบความสำเร็จอย่างรวดเร็ว กลายเป็นที่สนใจของแฟนฟุตบอลทั่วโลก  อย่างไรก็ตาม สโมสรแห่งนี้ กลับถูกต่อต้าน จากแฟนบอลจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศเยอรมัน จนได้ชื่อว่า เป็นทีมฟุตบอลที่ถูกเกลียดมากที่สุดในเมืองเบียร์ ย้อนกลับไปตอนที่

สโมสร แอร์เบ ไลป์ซิก เกิดขึ้นมาได้ เป็นเพราะว่าบริษัท เรดบูล อาศัยช่องว่างของกฎ 50+1 ที่ไม่ครอบคลุมถึงลีกกึ่งอาชีพ และกฎ 50+1 คือต้นตอสำคัญที่ทำให้ไลป์ซิก เป็นที่จงเกลียดจงชังจนถึงทุกวันนี้ เราคงเห็นกันอย่างชัดเจนว่า การเป็นเจ้าของสโมสรเรดบูล ผิดกฎของฟุตบอล

เยอรมันอย่างชัดเจน ที่ให้แฟนบอลของสโมสร ถือหุ้นอย่างน้อย 51 เปอร์เซนต์ มิฉะนั้น เรดบูล คงไม่ต้องไปเทคโอเวอร์สโมสรถึงลีก 5 เพื่อเลี่ยงกฎนี้ อย่างไรก็ตาม เมื่อขึ้นสู่ลีกอาชีพ โดยเฉพาะตั้งแต่ลีกา 2 เป็นต้นมา มีข้อเรียกร้องจากหลายฝ่ายให้ แอร์เบ ไลป์ซิก เปิดโอกาสให้

แฟนบอลถือหุ้น เหมือนกับสโมสรอื่น แน่นอนว่า เรื่องนี้ไม่เคยเกิดขึ้น เหตุผลสำคัญที่ แอร์เบ ไลป์ซิก ยังคงอยู่ในลีกบุนเดสลีกา และเป็นสโมสรองค์กร โดยที่ไม่ได้รับการอนุญาตจากทางลีก เป็นเพราะว่าสโมสรแห่งนี้ ใช้ช่องว่างของกฎเอาตัวรอดอีกครั้ง  นั่นคือ ไลป์ซิกมีผู้ถือหุ้น

เป็นไปตามกฎ 50+1 ทุกอย่าง เพราะคนที่เข้ามาถือหุ้นสโมสร ซื้อหุ้นในฐานะแฟนบอลทั้งหมด  เพียงแต่แฟนบอลทุกคน ที่ถือหุ้นของสโมสรไลป์ซิก คือผู้บริหาร หรือพนักงาน ในบริษัท เรดบูล และยิ่งไปกว่านั้น หากแฟนบอลทั่วไปจะไปซื้อหุ้น สโมสรจะหาเรื่องอ้างไม่ยอมขายให้

พวกเขาการอาศัยช่องว่างของกฎ เอาตัวรอดซ้ำแล้วซ้ำเล่า ซึ่งการไม่ยอมทำตามกฎที่มี ของไลป์ซิก ทำให้สโมสรแห่งนี้กลายเป็นที่เกลียดชัง ของแฟนบอลชาวเยอรมัน  เพราะคนเยอรมันมีความคิดฝังใจว่า สโมสรฟุตบอลต้องเป็นของแฟนบอลเท่านั้น และพวกเขามีความเชื่อว่า

เหตุผลที่ เรดบูล เข้ามาทำทีมฟุตบอล เพียงเพราะต้องการโปรโมตธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังเท่านั้น ไม่ได้มีความตั้งใจจริง ที่จะทำทีมฟุตบอล หรือพัฒนาวงการลูกหนัง เนื่องจากทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับสโมสรแห่งนี้ มีความเกี่ยวข้องกับเรดบูล หรือ สัญลักษณ์กระทิงแดง

ไม่ว่าจะเป็น โลโก้สโมสร, สปอนเซอร์คาดอก, แบนเนอร์ในสนาม, มาสคอต รวมถึงสินค้าของที่ระลึก  แม้กระทั่งชื่อเว็บไซต์ของสโมสรไลป์ซิก ยังใช้ชื่อว่า dierotenbullen.com หรือ กระทิงแดง.คอม หากแปลเป็นภาษาไทย และถ้าแฟนบอลอยากซื้อของออนไลน์ ของสโมสร

แห่งนี้ จะต้องไปซื้อของผ่านเว็บไซต์ของบริษัทเรดบูล แทนที่จะซื้อผ่านเว็บสโมสร เหมือนกับทีมอื่น แอร์เบ ไลป์ซิก จึงต้องเผชิญหน้า กับความเกลียดชัง และเเรงต่อต้านอย่างหนัก จากแฟนบอลในเยอรมัน ซึ่งมีการแสดงออกอยู่หลายวิธีด้วยกัน  เช่น แบนแฟนบอลไม่ตามไปเชียร์ทีมรัก

ที่ไลป์ซิก, เขียนป้ายด่าสโมสร,  ตะโกนด่าทอ หรือทำร้ายร่างกายแฟนบอลไลป์ซิกในเกมเยือน หรือกรณีโด่งดังที่สุด คือ โยนหัวกระทิง อันเป็นสัญลักษณ์ของทีมไลป์ซิก ลงสนามฟุตบอล แม้กระทั่งแฟนบอลสโมสรฟุตบอลตัวเอง ยังทำการแบนทีม ด้วยการไม่โพสต์โลโก้กระทิงแดงของ

ไลป์ซิก ลงในสื่อโซเชียลของสโมสร และเวลาเรียกชื่อสโมสร พวกเขาจะเรียกทีมนี้ว่า ไลป์ซิก ไม่มีแอร์เบ นำหน้า เพราะไม่ต้องการจะช่วยโปรโมตแบรนด์ ให้บริษัทเรดบูล เหรียญย่อมมีสองด้าน ในด้านหนึ่ง แอร์เบ ไลป์ซิก คือสโมสรที่ให้โอกาสเยาวชน แสดงให้เห็นว่า ฟุตบอลสามารถ

ประสบความสำเร็จได้ โดยไม่จำเป็นต้องทุ่มเงินซื้อนักเตะราคาแพง หากมีการพัฒนา และวางแผนสโมสรอย่างเป็นระบบ อีกด้าน คือการเป็นสโมสรแหกกฎของฟุตบอลเยอรมัน เลือกยืนอยู่ตรงข้ามกับวัฒนธรรม ที่คนเยอรมันยึดมั่น จนกลายเป็นสโมสรที่ถูกต่อต้าน และเกลียดชัง

ของแฟนบอลเยอรมัน เหรียญมีสองด้าน สุดท้ายขึ้นอยู่ว่าเราจะมองด้านไหน แต่ทางที่ดีที่สุด การรับรู้และมองเห็นเหรียญทั้งสองด้าน อาจเป็นทางเลือกที่ดีที่สุด

คลิ๊กเลย >>> https://www.ufabetwins.com/

อ่านข่าวเพิ่ม >>> บ้านผลบอล